วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอนภูมิศาสตร์

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วิชา ส 31101 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง สภาพแวดล้อมทางกายภาพของประเทศไทย เวลา 3 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 5.2 : เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ข้อ 1 วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทรัพยากรของประเทศและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสังคม รู้สิทธิ หน้าที่ กฎระเบียบ สถานการณ์ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตน และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
ข้อ 2 เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก วิเคราะห์การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคมอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เปรียบเทียบวิถีชีวิตของสังคมไทยและสังคมอื่นที่มีผลต่อ สิ่งแวดล้อม เข้าใจปัญหาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและปรับเปลี่ยนค่านิยมและวิถีชีวิตเพื่ออนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศและของโลก

สาระสำคัญ
ในโลกปัจจุบันมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเอื้อต่อการดำรงชีวิต มนุษย์ใช้สภาพแวดล้อมเหล่านี้เพื่อให้ตนเองมีความอยู่ดีกินดี รวมทั้งสร้างสรรค์ความเจริญทางวัฒนธรรมประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสภาพแวดล้อมหลายลักษณะทั้งในด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากทำเลที่ตั้ง อาณาเขต และรูปร่างของประเทศไทยนั่นเอง



ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
2.นักเรียนเห็นความสำคัญของลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนสามารถบอกประวัติความเป็นมา ของลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
2.นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยได้
จุดประสงค์ปลายทาง
1.บอกลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยได้
2.อธิบายลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยได้
3.อธิบายลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยได้

สาระการเรียนรู้
1.ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
2.ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
3. ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
4.ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 1 เรื่องลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย เวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นนำ
กิจกรรม
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2.ให้นักเรียนสังเกตดูแผนที่ประเทศไทย ว่ามีลักษณะอย่างไร แบ่งเป็นภาคอะไรบ้าง
3.ให้นักเรียนร้องเพลงรักกันไว้เถิด
- ให้นักเรียนปรบมือให้เป็นจังหวะตามเพลงที่ร้อง แล้วถามนักเรียนว่าได้ข้อคิดอะไรบ้างจากเพลงที่ร้อง









เพลงรักกันไว้เถิด
(*) รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทยจะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกันเชื้อสายประเพณีไม่มีกีดกั้นเกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย
ท้องถิ่นแหลมทอง เหมือนท้องของแม่เกิดถิ่นเดียวกันแท้เหมือนแม่เดียวกันใช่ไหมยามฉันมองตาคุณ อบอุ่นดวงใจเห็นสายเลือดไทยในสายตาบอกสายสัมพันธ์ (*)
ทะเลแสนงาม ในน้ำมีปลาพืชพันธุ์เกลื่อนตาตามไร่นารวงทองไสวสินทรัพย์มีเกลื่อนกล่นบรรพชนให้ไว้เราลูกหลานไทยจงร่วมใจรักษาให้มั่น (*)
แหลมทองโสภาด้วยบารมีปกเกล้าเราไทยนี้ร่มเย็นเป็นศรีผ่องใสใครคิดบังอาจหมิ่นถิ่นทององค์ไธ้เราพร้อมพลีใจป้องหมู่ไทยและองค์ราชันย์ (*)
ขั้นสอน
ใช้รูปแบบการสอนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียน “วิธีการเรียนรู้” อย่างเป็นขั้นตอน หรือเป็นกระบวนการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ

กิจกรรม
ขั้นที่ 1 ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
4.ครูนำแผนที่เกี่ยวประวัติอาณาเขตของประเทศไทยในอดีต และอาณาเขตหรือรูปร่างของไทยในปัจจุบันให้นักเรียนดู พร้อมกับอธิบายให้นักเรียนฟัง


ขั้นที่ 2 คิดริเคราะห์วิจารณ์
5.นักเรียนสังเกตดูแผนที่ แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นร่วมกัน
6.นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ถึงที่ตั้ง ขนาด และรูปร่างของประเทศไทยว่ามีข้อเด่นข้อด้อยอย่างไรบ้าง
ขั้นที่ 3 สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
7.ให้นักเรียนศึกษาความรู้จากใบความรู้ เรื่องลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
ขั้นสรุป
ขั้นที่ 4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
8.ให้นักเรียนจับคู่ แล้ววาดภาพระบายสี(ให้ชัดเจน) เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
9.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 2 เรื่องลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย เวลา 1 ชั่วโมง
กระบวนการเรียนรู้ (ใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD)
ขั้นนำ
ขั้นที่ 1นำเสนอบทเรียนต่อนักเรียน
1.ครูทบทวนความรู้เรื่องลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยแก่นักเรียน และบอกเหตุผลในการประเทศไทยออกเป็นภูมิภาคต่างๆ
ขั้นสอน
2.ครูสอนเนื้อหาใหม่
-นำภาพเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และลักษณะประชากรของแต่ละภาคให้นักเรียนดู เช่น ชาวเล ชาวเขา ต้นกาแฟ ดอกไม้เมืองหนาวต่างๆ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนช่วยกันอภิปรายว่าภาพเหล่านี้อยู่ภาคใดของประเทศ และทำไมประชากรในภาคนั้นๆจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน มีอาชีพ หรือพืชพรรณธรรมชาติที่ต่างกัน เป็นต้น
-ครูกล่าวชมเชยนักเรียนที่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับภาพที่ครูนำมาให้ดูได้จากนั้นครูพูดเชื่อมโยงว่าในวันนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
ขั้นที่ 2การเรียนกลุ่มย่อย
3.นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่มโดยคละความสามารถแล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่ม แล้วจับสลากเลือกภาคในการศึกษา
4.นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ภาคที่ตนได้รับ ให้เสร็จทันตามเวลา
5.ในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่ม ครูคอยสังเกตดูว่านักเรียนปฏิบัติงานอย่างไร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ คอยตอบข้อซักถามนักเรียนที่มีปัญหา นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยกิจรรมและเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สมบูรณ์
ขั้นที่ 3 ขั้นการทดสอบย่อย
6.นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานเรื่องภูมิภาคของประเทศไทย แล้วให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนองานที่ทำในใบงานหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคำตอบ
7.ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรมที่ทำในใบงาน
8.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียน

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 3 เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศ และลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
เวลา 2 ชั่วโมง
กระบวนการเรียนรู้ (การสอนแบบอภิปรายกลุ่ม Discussion Method)
ขั้นนำ
กิจกรรม
1.ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยว่ามีลักษณะอย่างไร จากนั้นครูสุ่มนักเรียนตอบคำถามดังนี้
- ฤดูกาลต่างๆเกิดขึ้นมาเพราะสาเหตุใด
- ฤดูกาลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ขั้นสอน
กิจกรรม
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษา เรื่อง ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติ และลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยในหนังสือเรียน
3.ครูนำรูปภาพเกี่ยวทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดินชนิดต่างๆ หินแร่ ป่าไม้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติให้นักเรียนดู
4.ครูนำแผนที่ประเทศไทยติดไว้หน้ากระดาน หลังจากที่นักเรียนดูภาพทีละภาพ แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตอบคำถามว่า ภาพที่เห็นอยู่ในบริเวณภาคใด และจังหวัดใด โดยครูจะมีกระดาษสี 6 สีเท่ากับจำนวนกลุ่ม คือ สีเขียว สีฟ้า สีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีดำ ไว้ให้นักเรียนติดบริเวณจังหวัดที่นักเรียนตอบ
5.ครูบันทึกคะแนนที่แต่ละกลุ่มตอบถูก




ขั้นสรุป
กิจกรรม
6.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความรู้เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศ และลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

7. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
1.ใบงาน เรื่องภูมิภาคของประเทศไทย
2.แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน
3.แผนที่อาณาเขตของประเทศไทยโบราณ
4.แผนที่ประเทศไทย
5.รูปภาพทรัพยากรธรรมชาติ และลักษณะประชากรของแต่ละภาค
6.ใบความรู้ เรื่องลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
7.ใบความรู้เรื่อง ภูมิภาคในประเทศไทย
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุด
2.อินเทอร์เน็ต